สถาปนิก



เป้าหมายของอาชีพ
 เป้าหมายการทำงานของสถาปนิกก็คือ การออกแบบอาคารประเภทต่างๆให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฎหมาย ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางศิลปะและเทคนิค โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและประหยัด ทั้งในด้านราคาค่าก่อสร้างและพลังงานสนองความต้องการของผู้อาศัย และผู้ใช้อาคาร
ขอบเขตของงานสถาปนิก มีดังนี้ งานด้านออกแบบ (Design), งานด้านการบริหารโครงการ (Construction Management), งานด้านการบริหารการใช้พลังงานในอาคาร (Building Energy Management), งานด้านการออกแบบการให้แสง (Lighting Design), งานด้านบริหารจัดการอาคาร (Facility Management), งานด้านอนุรักษ์ (Preservation), งานตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของอาคาร (Building Inspection)
👉 สิ่งที่อาชีพนี้ต้องทำ
 สถาปนิกคือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร   เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น
สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. บันทึกรายละเอียดความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design) ออกแบบ คำนวณแบบ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า
3. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
4. คำนวณรายการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับเนื้องาน
5. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document) เตรียมแบบ และส่งแบบที่วาดโดยช่างเขียนแบบให้ลูกค้าพิจารณา เพื่อดัดแปลงแก้ไขและตอบข้อซักถามของลูกค้าร่วมกับวิศวกร
6. เมื่อแก้ไขดัดแปลงให้สมบูรณ์แล้ว จึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง.
7. ออกปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรระหว่างทำการก่อสร้าง เพื่อให้ใช้วัสดุตามแบบที่วางไว้ตามเงื่อนไขสัญญา
8. ให้คำปรึกษาต่อวิศวกรและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการคำนวณของวิศวกร
👉อาชีพที่ต้องทำงานร่วมกัน
 สถาปนิกจะมีผู้ที่ให้ปรึกษา คำแนะนำในเรื่องเทคนิคระดับซับซ้อน ซึ่งก็คือ วิศวกร ซึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนงเกี่ยวกับการก่อสร้าง โดยทั่วไปสำหรับโครงการขนาดกลาง วิศวกรเหล่านี้จะประกอบด้วย วิศวกรโครงสร้าง (Structural Engineer), วิศวกรโยธา (Civil Engineer), วิศวกรไฟฟ้า (Electrical Engineer), วิศวกรประปา (Plumbing Engineer) และ วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) นอกจากนี้อาจจะมีที่ปรึกษาอื่นๆ เช่น มัณฑนากร (Interior Designer) และ ภูมิสถาปนิก (Landscape Architect) เป็นต้น โดยนักวิชาชีพทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกันเป็นทีม ผ่านการประสานงานของสถาปนิก ซึ่งเป็นผู้นำของทีม
👉 สถานที่ทำงาน
 การทำงานของอาชีพสถาปนิกจะต้องอยู่ทั้งในออฟฟิศ และลงพื้นที่ก่อสร้างจริง (ตั้งแต่ขั้นสำรวจพื้นที่ก่อนก่อสร้างจนกระทั่งก่อสร้างเสร็จ) ซึ่งสถาปนิก็มีทั้งที่ทำงานแบบฟรีแลนซ์ ทำงานในบริษัทสถาปนิก และทำงานในหน่วยงานราชการ
👉 ช่วงเวลาการทำงาน
 สถาปนิกบางคนอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำงานจนชั่วโมงนอนน้อย นั่นหมายถึงการทำงานที่มากกว่า 8 ชั่วโมงที่เป็นชั่วโมงทำงานปกติหรืออาจจะไม่ได้ทำงานเป็นเวลาเช่น เข้า 8 โมง ออก 4 โมงเย็น เพราะหลายๆ โครงการก่อสร้างที่เราต้องเข้าไปคุมงานมีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้สถาปนิกอาจจะเผชิญกับเวลาส่วนตัวที่น้อย เนื่องจากภาระงานหนักที่เข้ามา
👉 ทักษะความสามารถที่ต้องใช้
 สถาปนิกเป็นอีกอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก ในชีวิตจริงมันไม่ได้สวยงามอย่างในละคร คนกลุ่มนี้ไม่ได้แค่มีหน้าที่ออกแบบอาคารคุมงานก่อสร้างให้ได้ดังที่ลูกค้าต้องการ แต่สิ่งที่เราออกแบบไปนั้นคือความรับผิดชอบของเรา หากมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นในอนาคตคนที่จะโดนฟ้องคนแรกก็คือสถาปนิกนี่แหละ ดังนั้น นอกจากความคิดสร้างสรรค์ ทักษะพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม ความรอบคอบ และความรับผิดชอบ ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก ส่วนโปรแกรมที่สถาปนิกใช้ในการทำงานก็มีหลายโปรแกรม เช่น SketchUp, Photoshop,   Autocad หรือ archicad  เพราะจะมีความแม่นยำ สวยงาม และรวดเร็ว ต่างจากเมื่อก่อนที่จะเป็นงาน Munual งานวาดมือทั้งหมด ซึ่งจะต้องมีโต๊ะ ดราฟ หรือ โต๊ะเขียนแบบเป็นโต๊ะประจำตัว แต่ถ้าเรามีเวลาจริงๆ อยากทำงานเป็นงานมือก็สามารถทำได้
 👉คุณค่าผลตอบแทนของอาชีพ
 สถาปนิกบางคนอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำงานจนชั่วโมงนอนน้อย นั่นหมายถึงการทำงานที่มากกว่า 8 ชั่วโมงที่เป็นชั่วโมงทำงานปกติหรืออาจจะไม่ได้ทำงานเป็นเวลาเช่น เข้า 8 โมง ออก 4 โมงเย็น เพราะหลายๆ โครงการก่อสร้างที่เราต้องเข้าไปคุมงานมีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้สถาปนิกอาจจะเผชิญกับเวลาส่วนตัวที่น้อย เนื่องจากภาระงานหนักที่เข้ามาสถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ เป็นต้น โดยระดับรายได้ของสถาปนิกมักจะขึ้นอยู่กับระดับตำแหน่ง ตั้งแต่ ผู้ช่วยสถาปนิก (Architect Assistant), สถาปนิกผู้น้อย  (Junior Architect), สถาปนิก (Architect), สถาปนิกอาวุโส  (Senior Architect), ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ  (Design Director , Architect Director) และเนื่องจากในวิชาชีพสถาปัตยกรรมครอบคลุมสาขาต่างๆ ตั้งแต่ การวางแผนเมืองและสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ชุมชนและสถาปัตยกรรม การออกแบบชุมชนเมือง (สถาปัตยกรรมผังเมือง) สถาปัตยกรรมหลัก ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมทุกอย่างที่จำเป็นในสังคมเอาไว้ ดังนั้นหากขาดอาชีพสถาปนิกไปโครงสร้างของเมืองอาจจะยุ่งเหยิง หรือ ความสุนทรียของอาคาร สิ่งปลูกสร้าง สภาพแวดล้อมก็จะขาดหายไป เพราะฉะนั้นอาชีพนี้ถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญและขาดไม่ได้
👉 เส้นทางการเติบโต
อนาคตความก้าวหน้าของคนที่ประกอบอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ ความชำนาญในงานเป็นสำคัญโดยมีหลักประกันอยู่ที่ฝีมือและผลงาน ผู้ที่ทำงานใน ภาครัฐจะได้รับการเลื่อนขั้นตามความสามารถถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลักสูตรต่างๆเพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยเองที่สังกัดอยู่ ในภาคเอกชน อาจได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้างหรือเป็นเจ้าของกิจการก็ได้
👉 ช่องการศึกษาความรู้เพิ่มเติม
สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการ ในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย


ที่มา: สถาปนิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น